วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ "วรวีร์ มะกูดี"






วรวีร์ มะกูดี

นอกจากการบริหารทีมฟุตบอลแล้ว บังยีก็ได้เข้าสู่วงการการเมืองอีกด้วย ซึ่งใน พ.ศ. 2528 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ข.ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กระทั่ง พ.ศ. 2543 ได้เข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และย้ายไปอยู่กับพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2547 ส่วนในปัจจุบัน นายวรวีร์ เป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ พ.ศ. 2554
            สำหรับย่างก้าวเข้าสู่สมาคมฟุตบอลฯ ของนายวรวีร์ เริ่มต้นใน พ.ศ. 2538 เมื่อนายวรวีร์ถูก พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ นายกสมาคมฟุตบอลฯ ในขณะนั้น ทาบทามให้มาเป็นรองเลขาธิการสมาคมฟุตบอลฯ คอยช่วยเหลืองาน นายวิจิตร เกตุแก้ว เลขาธิการสมาคมฟุตบอลฯ ในขณะนั้น จนเมื่อนายวิจิตร ขึ้นเป็นนายกสมาคมฟุตบอลฯ แทน พล.ต.ท.ชลอ ทำให้นายวรวีร์ ได้เลื่อนมาเป็นเลขาธิการ
            ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 นายวรวีร์ ก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกผู้บริหาร (Executive member) ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) พร้อมกับเป็นกรรมการบริหารชาติสมาชิก (Executive committee member) ของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) จากการสนับสนุนของประเทศมุสลิมในอาเซียน
            และแล้ว จุดสูงสุดในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสมาคมฟุตบอลฯ ของนายวรวีร์ก็มาถึง เมื่อเขาได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่ แทนวิจิตร เกตุแก้ว ที่ลาออกไป ใน พ.ศ. 2550 ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฯ ของนายวรวีร์ นับว่าได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักด้านการบริหารจัดการ จากทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องและแฟนบอลตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ดังนี้
             1. การไม่มีเกมการแข่งขันอุ่นเครื่องให้ทีมชาติไทยชุดใหญ่ได้ลองทีม และเพิ่มอันดับในฟีฟ่า แรงกิ้ง ซึ่งในตอนนี้ไทยถูกฟิลิปปินส์แซงเป็นอันดับ ในอาเซียนแล้ว โดย บังยี ให้เหตุผลว่า ไม่มีงบประมาณ นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวว่า ได้เชิญทีมชาติอิรักและทีมชาติซิมบับเวปลอม มาแข่งขันกับทีมชาติไทย พร้อมกับให้คิดคะแนนในฟีฟ่า แรงกิ้งด้วย แต่สุดท้าย เมื่อทางฟีฟ่าพบความผิดปกติขึ้น จึงยกเลิกรับรองการแข่งขันให้แมตช์ดังกล่าว และให้เลิกคิดคะแนนจัดอันดับฟีฟ่าด้วย ซึ่งเรื่องนี้ทำให้วินฟรีด เชเฟอร์ อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติไทยบ่นอุบถึงความไม่เป็นมืออาชีพ
             2. ความไม่พร้อมในการเตรียมตัวแข่งขัน เช่น ไม่มีสนามซ้อม นักเตะทีมชาติต้องซ้อมหน้าสนามราชมังคลากีฬาสถาน ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือกที่พบกับญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปแข่งขันที่อิหร่าน โดยลืมทำวีซ่า ทำให้นักเตะและทีมงานต้องเสียเวลาที่สนามบินนานกว่า ชั่วโมง เป็นต้น แต่เรื่องที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักมากที่สุด คือการเรียกตัวนักเตะเพียง วันก่อนการแข่งขันเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ซึ่งจะพบลาวเป็นนัดแรก สุดท้ายเกมนั้น ไทยต้องไล่ตีเสมอลาว 2-2 ช่วงท้ายเกม และตกรอบแรกของการแข่งขันแบบชนะใครไม่ได้เลย
             3. ผลงานการแข่งขันดิ่งลงเหว เป็นเหตุผลที่เป็นรูปธรรมที่ถูกแฟนบอลชาวไทยโจมตีมากสุด นับตั้งแต่นายวรวีร์มารั้งตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฯ ทีมฟุตบอลทีมชาติไทยไม่เคยคว้าแชมป์รายการใด ๆ ในระดับอาเซียนได้เลย แถมยังตกรอบแรกซีเกมส์เป็นครั้งแรกในรอบ 36 ปี เมื่อ พ.ศ. 2552 ส่วนการแข่งขันระดับทวีปและโลก เช่น รายการเอเชียนคัพ และฟุตบอลโลก ก็ตกรอบคัดเลือกตั้งแต่ไก่โห่
             4. ความไม่เป็นมืออาชีพเรื่องกฎของการแข่งขัน ทำให้ทีมชาติไทยทำผิดกฎอยู่เสมอ เช่น การส่งผู้เล่นที่ติดโทษแบนลงสนามในศึกฟุตบอลโอลิมปิก 2012 รอบคัดเลือก ในเกมที่พบกับปาเลสไตน์ สุดท้ายโดนปรับแพ้ 3-0 หรือการเปลี่ยนตัวสำรองเกินโควต้าในเกมอุ่นเครื่องที่พบกับบาห์เรน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ทำให้ฟีฟ่ายกเลิกการรับรองผลภายหลัง
             5. ความไม่โปร่งใสในการบริหาร เช่น การสั่งทำถ้วยแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกจากประเทศอังกฤษ ด้วยงบประมาณ ล้านบาท ทำให้หลายฝ่ายเกิดข้อกังขาว่า ใช้งบประมาณสูงเกินไปหรือไม่ อีกทั้งคนไทยที่มีความสามารถที่จะออกแบบถ้วยก็มีมากมาย และถ้วยไทยพรีเมียร์ลีกที่สั่งทำมานั้น ถูกวิจารณ์จากแฟนบอลส่วนใหญ่ว่า ไร้รสนิยมและเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีกรณีสิทธิประโยชน์กับบริษัท แดอัน 21 จากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งศาลแขวงพระนครเหนือได้สั่งยกฟ้องไปแล้ว
             6. โดนแฉเรื่องการทุจริตระดับชาติ เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2554 ภายหลังจากการเลือกตั้งเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 จบลง ซึ่งทางอังกฤษ ได้ออกมาแฉว่า นายวรวีร์ ได้เรียกสินบนให้โหวตให้อังกฤษเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก อย่างไรก็ตาม นายวรวีร์ก็หลุดพ้นจากข้อหาดังกล่าวแล้ว
             7. การบริหารจัดการไทยพรีเมียร์ลีกแบบไม่เป็นมืออาชีพ เช่น การแก้ไขกฎการเพิ่มทีมการแข่งขันจาก 16 ทีมเป็น 18 ทีม มีผลบังคับใช้ในฤดูกาลหน้าทันที ซึ่งกฎดังกล่าวทำให้ต้องเปลี่ยนจำนวนทีมเลื่อนชั้น ตกชั้นในลีกระหว่างการแข่งขัน แทนที่จะให้มีผลบังคับใช้หลังจากฤดูกาลหน้าผ่านพ้นไปแล้ว
             8. ความไม่พร้อมสำหรับการจัดการแข่งขัน เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 ซึ่งทีมชาติไทยต้องแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก พบกับคูเวต ที่สนามราชมังคลาฯ แต่สภาพสนามไม่พร้อม จึงได้ใช้สีสเปรย์สีเขียวฉีดบนพื้นสนามให้ดูเหมือนเป็นหญ้าสีเขียว เพื่อให้เอเอฟซีอนุมัติให้ใช้ในการแข่งขันได้
            นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2556 นายวรวีร์ยังได้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานเอเอฟซีอีกด้วย โดยได้เสียงโหวต คะแนนจาก 46 คะแนน ทำให้ตำแหน่งเป็นของชีค ซัลมาน บิน อิบราฮิม อัล คาลิฟา จากบาห์เรน ที่ได้ 33 คะแนน
            สำหรับการเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลฯ ใน พ.ศ. 2556 นี้ นายวรวีร์ได้ชูนโยบายพัฒนาฟุตบอลอาชีพในไทย พัฒนาเยาวชนไทย เพื่อทำให้ทีมชาติไทยได้ลุยศึกฟุตบอลโลก 2018 ในอีก ปีข้างหน้า จนได้รับเลือกตั้งให้นั่งเก้าอี้นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยต่ออีกสมัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น