วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

อะไรสำคัญทุกสุดในการเรียนสายวิทย์ - คณิต


"การเดินทางหมื่นลี้สำคัญที่ก้าวแรก"สุภาษิตจีนบทนี้
หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง
บ้างก็แค่ฟังผ่านๆ บ้างก็เก็บมาคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแม้กระทั่งนำมาบูรณาการ
ใช้ในชีวิตประจำวัน...
แต่เอ่... แล้วมันนำมาใช้ในการเรียนม.ปลายได้หรือเปล่า?
 "การเดินทางหมื่นลี้สำคัญที่ก้าวแรก"
ถ้าเป็นสุภาษิตของฝรั่งความหมายก็คงประมาณ
"การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง"
ความหมายแปลจากคำไทยเป็นภาษาไทยตามประสา
คนที่ใช้คำทั่วๆไปไม่ค่อยสวยงามก็คือ
เวลาคิด หรือ ตั้งใจจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็ต้อง
มีการเตรียมตัวที่ดีเป็นทุนอยู่แล้ว ถ้ายังไม่มีก็ต้องหา
เมื่อทำงานดำเนินงานหรือ ลงมือ
ปฏิบัติก็สารมารถทำได้อย่างสะดวก มีปัญหาติดขัดน้อย
แล้วสำหรับเด็กม.ปลาย สาย วิทย์ - คณิต ล่ะ
การเริ่มต้นมันต้องเตรียมอะไรและเริ่มที่ไหน

โชคดีที่เป็นคนที่มีโอกาสได้ประสบพบเจอ
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเด็กม.ปลาย
โดยเฉพาะสาย วิทย์- คณิต บ่อยมากมาตลอด 4 ปี
จึงได้รับรู้ข้อมูลอย่างหนึ่งคือ
การเริ่มต้นของเด็กส่วนใหญ่เมื่อ
ตอนเริ่มเข้า ม.4 การเตรียมเนื้อหาที่จะเรียนตอนเปิดเทอม
(อืม...อันนี้เยอะจริงๆ)
แต่ที่น่าตกใจคือ เด็กหลายคนบอกว่าเวลาไปซื้อหนังสือแบบเรียน
ที่ร้านหนังสือก็จะซื้อ "กุญแจ" ของแต่ละวิชามากด้วย
(น่าจะเป็นกุญแจไขสู่ทางเบี่ยงลงเหว)
กล่าวโดยร่วมคือ เด็กจะเตรียมทางด้านวิชาการเป็นส่วนมาก
...ถามว่าผิดหรือเปล่า อันนี้ไม่บอกแต่ลองคิดดู
(คนที่อ่านเริ่มสงสัยว่ามันไม่ถูกได้อย่างไร)

ถามเด็กอีกครั้งว่า "คิดว่าวิชาไหนในสายวิทย์ - คณิต ยากที่สุด"
คิดเป็นสัดส่วนคร่าวๆคือ
1.ฟิสิกส์ ร้อยละ 55 (T^T)
2.คณิต ร้อยละ 20
3.เคมี ร้อยละ 16
4.ชีววิทยา ร้อยละ 9
(ข้อมูลจากที่สำรวจมาเอง คร่าวๆนะครับ)
น่าน...ฟิสิกส์ ทิ้งห่างชาวบ้านชาวช่องมากมาย
พอถามถึงสาเหตุว่าทำไมถึงไม่ชอบ ฟิสิกส์ เอาที่ได้ยินบ่อยๆ
"รุ่นพี่บอกว่ามันยาก" เป็นประโยคที่แทงข้างหลังทะลุถึงลิ้นปี่เลย
เด็กยังไม่เคยเรียนวิชานี้เลย แต่กลับตอบว่ายากพร้อมเหตุผลดังกล่าว
เลยคิดว่าคิดว่า สิ่งเด็กม.ปลายสาย วิทย์-คณิต น่าจะเตรียมอย่างแรกเลยคือ
"ความรู้สึก"(Emotion)
ยกตัวอย่าง
ถ้าเราไปถามคนอังกฤษว่าพูดไทยได้มั้ย
เขาจะตอบกลับมาทันที่ว่า "Yes, I can" จากนั้นเขาก็พูดมาประมาณ
"สาหวัดคับ โผมร๊ากคูน คูนร๊ากโผมไม๊"
แถมพูดอย่างยืดอกพูดใจประมาณเจ้าของภาษา
ในทางตรงข้ามถ้าเป็นคนไทยว่าพูดอังกฤษได้มั๊ย
จะตอบไปก่อนเลยว่า "โน ไอ แค๊ท"(สำเนียงอ่านบทความสุดๆ)
ความแตกต่างคือ ฝรั่งถ้าเขาพูดได้บ้าง
เขาจะคิดว่าเขาพูดภาษานั้นได้
แต่ คนไทยจะคิดว่าพูดได้นั้น
คือ ต้องพูดได้แตกฉาน ฟังแล้วเข้าใจ
ทุกอย่างคือความรู้สึกทั้งนั้น
ที่นี้ถ้าเรากลับมาคิดว่า
"ฟิสิกส์ กูก็คิดออก มันง่ายนิดเดียว"
อคติก็จะหายไป ทัศนคติก็ดีดเด้งพุ่งกระสูด
สมองก็จะเปิดรับได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้ว่าเจอโจทย์ยากคิดไม่ออก
ก็จะกล้า ยกมือถามอาจารย์ที่น่ารักว่า
"อาจารย์ครับ/ค่ะ โจทย์ข้อนี้ ผม/หนู รู้สึกว่ายังเข้าไม่ถึงประเด็ดรบกวนอธิบายอีกครั้ง"
ถ้านักเรียนอย่างนี้ อาจารย์ปกติ ย้ำว่าปกติ ทุกท่าน
ยินดีอธิบายด้วยรอยยิ้มไม่หุบเลยล่ะครับ

"ความรู้สึก" สำคัญต่อการเรียนมากๆ
ถ้าเรียนอย่างไร้ความรู้สึก
หรือเรียนอย่างเสียความรู้สึก
มันก็น่าสงสารเกินไปสำหรับผู้เรียน

ก่อนอื่นก็คิดได้จาก
ส่วนลึกของใจ ว่า "ฟิสิกส์ง่ายนิดเดียว"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น