"บิล เกตส์"
เกตส์เป็นเด็กเรียนเร็ว เริ่มต้นชีวิตนักเรียนที่ "เลกไซด์" โรงเรียนสำหรับลูกผู้มีอันจะกิน และอายุน้อยกว่าเพื่อนร่วมชั้นราวๆ 2 ปี
สมัยเด็กๆ อายุได้เพียง 13 ปี เกตส์กับอัลเลนมักชอบแอบเข้าไปเล่นเครื่องพิมพ์ไฟฟ้า "เทเลไทป์" ของโรงเรียนเป็นประจำ ด้วยความหลงใหลในระบบอิเล็กทรอนิกส์และกลไกการทำงานต่างๆ ซึ่งเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ จนในที่สุดสองสหายลงมือแก้ไขเขียน "โปรแกรม" ด้วยตัวเองเพื่อใช้ เทเลไทป์แก้ตารางเรียนของนักเรียนหญิงหน้าตาดีให้มาเข้าชั้นตรงกัน
มหา"ลัยไม่ใช่คำตอบ
"ตอนผมอายุ 19 ผมมองเห็นอนาคตและตัดสินใจทำตามสิ่งที่เห็น ปรากฏว่ามันคือสิ่งที่ถูกต้องเสียด้วยสิ!"
เกตส์ย้อนรำลึกถึงสาเหตุที่ตัดสินใจลาออกจาก "ฮาร์วาร์ด" สถาบันอุดมศึกษาอันดับต้นๆ ของสหรัฐ เอาไว้ในหนังสือเดอะโรดอะเฮด
ก่อนเข้าฮาร์วาร์ด เกตส์มีพื้นฐานการเขียนภาษา "เบสิก" สำหรับคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง เมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยก็มีความคิดว่าในอนาคต "ซอฟต์แวร์" หรือ "โปรแกรม" จะต้องมีความสำคัญมากกว่า "ฮาร์ดแวร์" หรือพูดง่ายๆ ก็คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง และบังเอิญว่าคิดถูกอย่างยิ่ง!
เริ่มแรกเกตส์เลือกเรียนวิชากฎหมาย แต่สักพักก็ทุ่มเทเวลาหมดไปกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การเขียนโปรแกรม และเศรษฐศาสตร์
เรียนผ่านพ้นไปเพียง 2 ปี เกตส์ก็ทำให้ครอบครัวแทบช็อก เมื่อยื่นเรื่อง "ดร็อป" ขอพักการเรียน เพราะเชื่อว่ามหาวิทยาลัยไม่มีอะไรจะสอนเขาอีกต่อไป!
หลักการในการทำงาน บิล เกตส์
1. จับตลาดที่มีช่องทางเยอะแต่มีคู่แข่งน้อย
2. เข้าไปให้เร็ว เข้าไปให้ใหญ่
3. สร้างสิทธิบัตรคุ้มครอง
4. คุ้มครองสิทธิ์ดังกล่าวโดยทุกวิธีทางที่ทำได้
5. มุ่งกำไรสูงสุด
6. ให้ของที่ลูกค้าไม่อยากปฏิเสธ
7. ให้หุ้น คือ ใครทำงานดีให้หุ้น
8. ให้อำนาจในการตัดสินใจ
9. ให้แต้มการทำงานใครได้คะแนนสี่ ถือว่าเยี่ยม ใครได้คะแนนหนึ่ง ออก
10. ให้ความเสมอภาค
11. ให้ทุกคนมีอีเมล์
ในส่วนของบิลที่ “ศึกษานอกระบบ” ด้วยตนเองจนได้ดิบได้ดี บิลกล่าวว่า มีปัจจัย 4 ประการที่เขารู้สึกว่าเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จมาจนทุกวันนี้ คือ
ประการแรก ต้องเป็นคนรักการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เป็นคนสนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอและผลจากการที่เป็นคนใฝ่รู้ก็ก่อให้เกิดนิสัยอื่นๆ ตามมา
ประการที่สอง เป็นคนชอบอ่านหนังสือ
ประการที่สาม อยู่ในแวดวงพ่อแม่ ญาติมิตร และเพื่อนนักธุรกิจที่มีการศึกษา มีความรู้ และไอเดียดีๆ ข้อนี้คงเข้าทำนองที่ว่า “คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” บิล บอกว่า การที่อยู่ในแวดวงที่รายล้อมไปด้วยคนดีมีความรู้ ทำให้เขาได้เรียนรู้ ได้ลับความคิด ได้ฟังได้เห็นสิ่งใหม่ๆ ซึ่งช่วยจุดประกายความคิดได้เป็นอย่างดี
และประการสุดท้ายคือ ต้องรักชอบ (Passion) ในสิ่งที่ทำ เพราะตัวบิลนั้นสนใจเรื่องคอมพิวเตอร์ การสร้างโปรแกรมต่างๆ มาตั้งแต่อายุวัยทีนแล้ว บิลบอกว่านักศึกษาควรค้นหาตนเองให้เจอว่าชอบทำอะไร แล้วก็ให้มุ่งไปทางนั้นอย่างมุ่งมั่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น