วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

S-ZONE โซนมหัศจรรย์คนพันธุ์ S

    ยินดีต้อนรับเข้าสู่ S-zone พื้นที่สำหรับเด็กสายวิทย์ สำหรับบล็อกนี้จะทำให้เพื่อนๆหันมาสนใจการเรียนสายวิทย์มากขึ้นจะทำให้รู้ว่าสายวิทย์ไม่ยากอย่างที่คิดถึงจะเรียนหนัก เรียนยากแต่เราก็สามารถที่จะสนุกกับการเรียนของเราได้
  ก่อนอื่นนั้นคงจะขอเกริ่นอะไรนิดหน่อยน่ะ^^
  
  ก่อนที่พวกเราจะเลือกเรียนในสาย ม.ปลายในต่างๆนั้น  แน่นอนเลยล่ะว่าเราต้องมีเป้าหมายซะก่อน  อย่างสุภาษิตที่ว่า "การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง"

  ซึ่งสำหรับเด็กม.ปลายล่ะ  การเริ่มต้นมันต้องเตรียมตัวยังไงและเริ่มที่ไหน

  การเรื่มต้นส่วนใหญ่มักเริ่มที่ความชอบซึ่งแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน  แต่ไม่ว่ายังไงมันก็พาให้เราไปถึงความฝันที่เราต้องการ^^

สรุปสูตร คณิตศาสตร์









5 ข้อ ที่พวกเธอทั้งหลายจงอย่าเรียนสายวิทย์เพราะ...


สวัสดีแจ้ วันนี้จะมาแพล่มเรื่องของการเรียนสายวิทย์จากประสบการณ์ของรุ่นพี่คนนึง  ไปดูกันเลยว่าเพราะเหตุผลอะไรกันบ้าง
1.) "ตามเพื่อน"
พี่เลือกเรียนสายวิทย์เพราะข้อนี้จริงๆ ไม่ปฏิเสธเลย
อีเพื่อนคนนี้มันเรียนเก๊งงงง เก่ง ครับ (แต่กูไม่)
ตอนปลายๆม.3 มันบอก
"เฮ้ย เรียนสายวิทย์กันเหอะมึง"
"มันเป็นยังไงสายวิทย์" (ถามจากใจเลยล่ะครับ โง่มาแต่เด็ก)
"ก็เรียนเกี่ยวกับพวกวิทย์ๆไง นะเรียนกันเหอะ เรียน 'เป็นเพื่อน' กูไง"
... เพราะหน้ามืด รักมันเหลือเกิ๊นนนเลยลงเรียนตามมัน
ผลรึครับ ทำกูเกลียดเคมีมาจนทุกวันนี้ (อย่าเอามาใกล้นะสูตรเคมีน่ะ ผื่นขึ้น )
จริงๆแล้ว ช่วงมัธยมปลายนี่ เป็นช่วงที่จะวัดแล้วล่ะว่าเราจะไปทางไหนต่อ
มีฝันอยากเป็นแบบไหน
ถามตัวเองดูให้รู้ครับ อีเพื่อนมันคงไม่ได้เอาสะดือเกี่ยวไปด้วยกันตลอดชีวิตหรอกคุณๆทั้งหลาย
ถามตัวเองให้แน่ใจมากๆ ว่ารัก ว่าชอบทางไหน อย่าไปถามเพื่อน
(อย่าทำอย่างอีเพื่อนสมัยมัธยมต้นคนหนึ่งนะครับ มันถามเพื่อนบอก "กูชอบอะไรวะมึง"
อ๊าว อีนี่ แล้วกูจะไปรู้กะมึงม้ายยยย )

2.) "มันเท่!"
อย่าครับ... อีข้อนี้อันตร๊ายยยย อันตราย
เข้าใจความรู้สึกนะจ๊ะเวลามีคนมาถามว่า "ต๊ายย เรียนม.ปลายแล้วหรือจ๊ะ เรียนสายอะไรเนี่ย" (นึกภาพตามเป็นอีคุณป้า เพื่อนสมัยเรียนของแม่ดัดจริตถามมันจะได้อารมณ์มากครับ)
เราก็จะยืดอกตอบ "สายวิทย์ครับ!"
อีคุณป้าจะทำตาโต "โอ้โฮฮฮฮ เก่งจังเลย!" (มันเก่งตรงไหนวะ  กะอีแค่เรียนวิทย์)
แล้วจากนั้นอีกหนึ่งปี เวลาอีคุณป้ากลับมาถามซ้ำว่าเรียนสายอะไร ก็ยืดหัวนมตอบไปเถอะครับ
แต่ถามว่าได้เกรดเท่าไร อย่าลืมเก็บหัวนมกลับเข้าที่ด้วยนะเธอ
...ประเด็นคืออย่างนี้ครับ พี่มองว่า เรียนสายไหนแม่งก็เท่ทุกสายแหละครับ
ที่โรงเรียนเก่ามีสายภาษา 5 ภาษา กูอิจฉาอีพวกเรียนภาษาพวกนี้ชิบหายเลยครับ
ภาษาฝรั่งเศสพวกมึงก็อ่านกันออก ญี่ปุ่น จีน มึงก็อ่านกันออก กูนี่แค่อังกฤษยังอ่าน "minutes" ว่า "มิ-นู-ตี้" อยู่เลยครับสมัยม.4
เรียนอะไรที่ตัวเองชอบ แม่งก็เท่หมดละครับ
อย่าไปเลือกเรียนเพราะมันทง มันเท่อะไรเลย เชื่อเถอะ
ให้ถามตัวเองว่า "กูชอบอะไรกันแน่"

3.) "เวลาไปเรียนต่อมหา'ลัย มันมีตัวเลือกหลายคณะ"
ครับ พี่เองก็บอกตัวเองว่าสายวิทย์มันมีดีตรงนี้
เอาเข้าจริงๆมันไม่ง่ายดายอะไรแบบนั้น
หลายสิ่งหลายอย่างมันจะบีบกรอบว่า "เฮ้ย ถึงกูจะชอบไปทางศิลป์ก็ตาม แต่กูทนเรียนวิทย์มาตั้งสามปีนะ จะให้กูไปเรียนในคณะศิลป์เรอะ! แล้วอีที่กูเรียนมาสามปีล่ะ!"
จากนั้นมันก็เป็นเส้นทางสู่ "การเดินทางไปสู่คณะที่กูไม่ได้ชอบ แต่ต้องเรียน"
ชิบหายแล้วครับคราวนี้ มึงเอ้ย ทนเรียนคณะที่ไม่ชอบไปอีก 4 ปี อาจารย์ฟิสิกส์ผมบอก "ขี้เต็มกางเกงแล้วมึง"
แล้วอีกอย่าง ต่อให้คุณไปสอบทางคณะศิลป์จริงๆ... คุณเองก็สู้เด็กศิลป์ไม่ได้หรอกครับในบางวิชา
อย่างอังกฤษ เคยให้เพื่อนสายภาษามาติวให้ มันเรียนอังกฤษ 2 ตัวครับ มากกว่าพวกสายวิทย์ 1 ตัว
โอ้ย อีห่าน มึงจะเก่งไปไหนเนี่ย
เทนส์ กี่ช่องๆ กูยังไม่เข้าใจ อีนี่ขั้นเทพพากูไปแกรมม่าไหนต่อไหนแล้ว (และทุกวันนี้กูก็ยังโง่เรื่องเทนส์เหมียนเดิม  ใครเก่งช่วยมาติวทีครับ)
เขาเก่งกว่าเราจริงๆครับในบางเรื่อง

4.) "พ่อแม่บังคับค่ะ"
โอ้ว เชสสสสสสสสสสสสสส  เจอข้อนี้เข้าไปเงียบเลยครับ
พ่อแม่บางคนอยากให้ลูกเป็นหมอ เป็นเภสัช
แต่ลูกแม่งเก่งทางวาดรูป เล่นดนตรี จะให้มันไปโซโล่กีตาร์ สเกชต์หน้าให้คนไข้ที่มาผ่าตัดเรอะครับ?
เรียนไปก็อึดอัดครับ เพื่อนของพี่คนหนึ่งก็โดนพ่อแม่บังคับให้เรียนสายวิทย์
มันเหนื่อยแทบตาย เดชะบุญว่าแม่มันใจอ่อนยอมให้มันแอดในคณะที่มันอยาก (ไม่รู้มันไปอ้อนอีท่าไหน)
ทุกวันนี้ได้ดิบได้ดีที่คณะศิลปกรรมครับ
ค่อยๆใช้เหตุผลบอกบุพการีทั้งสอง ว่ามันไม่ใช่
เรียนไปก็ทรมานตัวเอง

5.) "จะได้ดูมีภาษี ดูดี เก่ง เจ๋ง ฉลาดกว่าอีพวกเรียนสายศิลป์ง๊ายยยย"
โอ้ย เจอข้อนี้กูฟันศอกใส่เลยนะครับ
มีครับ มี มีแน่ๆๆๆๆๆ ล่ะอีคนแบบนี้ เจอมากับตัวเลยล่ะ
เขาก็ไม่ได้บอกตรงๆหรอกว่าคิดอย่างนี้ แต่ประโยคที่มันพูดนี่ ทำนองว่า "ฮ้า! สายวิทย์เรียนหนักกว่านี้เยอะ" "แค่นี้ง่ายๆน่ะ สายวิทย์น่ะสิหนักก็หนัก" "สายศิลป์เรียนไม่หนักเท่าวิทย์นี่นา" "ฯลฯ"
พี่เองก็สายวิทย์ กูก็ไม่เห็นว่ากูจะเอาอะไรไปข่มชาวบ้านเค้าได้เลยวะ
ถ้าเรียนไปเพื่อข่ม กูว่ามึงเลิกเรียนเหอะครับ อีหอกแหก



------------------------------------------
ทุกสิ่งทุกอย่างมันขึ้นอยู่ที่ว่า เราชอบอะไรครับ
จริงๆแล้ว อย่างที่บอกไปว่าช่วงม.ปลายนี้ พวกเราควรจะค้นพบตัวเองได้แล้ว
ว่าชอบอะไร ฝันอยากเป็นอะไร
ไม่ใช่ "ตามเพื่อน"
พี่เรียนวิทย์มาแบบลุ่มๆดอนๆมากครับ รู้ทั้งรู้ว่าตัวเองเกลียดคณิตก็ยังดันทุรังจะเรียน
โอเมกง โอเมก้าในฟิสิกส์ ฮาล์ฟไลฟ์ในเคมี กูเกลียดหมดครับ
เพราะทนเรียนมาสามปี รู้เลยว่าการเรียนไอ้ที่มันไม่ใช่ตัวเราแม่งเฮงซวยแค่ไหน
ไอ้เชี๊ยยยยยย สอบฟิสิกส์ เคมี ชีวะที ต้องพกเอา "โพย" เข้าไปเป็นตั้งๆ
แรกๆช่วงม.4 ไอ้วิชาห่านแหวพวกนี้มันก็ง่ายหยู่หรอกครับ
พื้นฐานๆ แทนสูตรแบบไม่ซับซ้อนมาก ทำให้คนเรียนตายใจ
แต่พอขึ้นม.5 เท่านั้นแหละ...
โอ้ว ไอ้เชี่ย นี่โลกเรามีเรื่องซับซ้อนขนาดนี้ด้วยเหรอวะ
... นี่กูเรียนไปทำไมเนี่ยหาการเคลื่อนไหวของลูกบอลเป็นแนวเส้นโค้ง
พลังงานจลน์ กล ศักดิ์
สูตรเคมีแสนแปด ดิฟเลข (รู้จักแต่ดริฟท์รถ) กูอยากเผาตำราทิ้งครับ เรียนไม่รอดจริงๆ
จบม.ปลายมาด้วยเกรดส้นตีนมาก

เพราะฉะนั้น ถามตัวเองให้แน่ใจครับ
"ชอบอะไรกันแน่"
ทางเดินคนเรา ได้เดินในทางที่ชอบมันก็เป็นสิ่งดีไม่ใช่หรือ?


อะไรสำคัญทุกสุดในการเรียนสายวิทย์ - คณิต


"การเดินทางหมื่นลี้สำคัญที่ก้าวแรก"สุภาษิตจีนบทนี้
หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง
บ้างก็แค่ฟังผ่านๆ บ้างก็เก็บมาคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแม้กระทั่งนำมาบูรณาการ
ใช้ในชีวิตประจำวัน...
แต่เอ่... แล้วมันนำมาใช้ในการเรียนม.ปลายได้หรือเปล่า?
 "การเดินทางหมื่นลี้สำคัญที่ก้าวแรก"
ถ้าเป็นสุภาษิตของฝรั่งความหมายก็คงประมาณ
"การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง"
ความหมายแปลจากคำไทยเป็นภาษาไทยตามประสา
คนที่ใช้คำทั่วๆไปไม่ค่อยสวยงามก็คือ
เวลาคิด หรือ ตั้งใจจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็ต้อง
มีการเตรียมตัวที่ดีเป็นทุนอยู่แล้ว ถ้ายังไม่มีก็ต้องหา
เมื่อทำงานดำเนินงานหรือ ลงมือ
ปฏิบัติก็สารมารถทำได้อย่างสะดวก มีปัญหาติดขัดน้อย
แล้วสำหรับเด็กม.ปลาย สาย วิทย์ - คณิต ล่ะ
การเริ่มต้นมันต้องเตรียมอะไรและเริ่มที่ไหน

โชคดีที่เป็นคนที่มีโอกาสได้ประสบพบเจอ
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเด็กม.ปลาย
โดยเฉพาะสาย วิทย์- คณิต บ่อยมากมาตลอด 4 ปี
จึงได้รับรู้ข้อมูลอย่างหนึ่งคือ
การเริ่มต้นของเด็กส่วนใหญ่เมื่อ
ตอนเริ่มเข้า ม.4 การเตรียมเนื้อหาที่จะเรียนตอนเปิดเทอม
(อืม...อันนี้เยอะจริงๆ)
แต่ที่น่าตกใจคือ เด็กหลายคนบอกว่าเวลาไปซื้อหนังสือแบบเรียน
ที่ร้านหนังสือก็จะซื้อ "กุญแจ" ของแต่ละวิชามากด้วย
(น่าจะเป็นกุญแจไขสู่ทางเบี่ยงลงเหว)
กล่าวโดยร่วมคือ เด็กจะเตรียมทางด้านวิชาการเป็นส่วนมาก
...ถามว่าผิดหรือเปล่า อันนี้ไม่บอกแต่ลองคิดดู
(คนที่อ่านเริ่มสงสัยว่ามันไม่ถูกได้อย่างไร)

ถามเด็กอีกครั้งว่า "คิดว่าวิชาไหนในสายวิทย์ - คณิต ยากที่สุด"
คิดเป็นสัดส่วนคร่าวๆคือ
1.ฟิสิกส์ ร้อยละ 55 (T^T)
2.คณิต ร้อยละ 20
3.เคมี ร้อยละ 16
4.ชีววิทยา ร้อยละ 9
(ข้อมูลจากที่สำรวจมาเอง คร่าวๆนะครับ)
น่าน...ฟิสิกส์ ทิ้งห่างชาวบ้านชาวช่องมากมาย
พอถามถึงสาเหตุว่าทำไมถึงไม่ชอบ ฟิสิกส์ เอาที่ได้ยินบ่อยๆ
"รุ่นพี่บอกว่ามันยาก" เป็นประโยคที่แทงข้างหลังทะลุถึงลิ้นปี่เลย
เด็กยังไม่เคยเรียนวิชานี้เลย แต่กลับตอบว่ายากพร้อมเหตุผลดังกล่าว
เลยคิดว่าคิดว่า สิ่งเด็กม.ปลายสาย วิทย์-คณิต น่าจะเตรียมอย่างแรกเลยคือ
"ความรู้สึก"(Emotion)
ยกตัวอย่าง
ถ้าเราไปถามคนอังกฤษว่าพูดไทยได้มั้ย
เขาจะตอบกลับมาทันที่ว่า "Yes, I can" จากนั้นเขาก็พูดมาประมาณ
"สาหวัดคับ โผมร๊ากคูน คูนร๊ากโผมไม๊"
แถมพูดอย่างยืดอกพูดใจประมาณเจ้าของภาษา
ในทางตรงข้ามถ้าเป็นคนไทยว่าพูดอังกฤษได้มั๊ย
จะตอบไปก่อนเลยว่า "โน ไอ แค๊ท"(สำเนียงอ่านบทความสุดๆ)
ความแตกต่างคือ ฝรั่งถ้าเขาพูดได้บ้าง
เขาจะคิดว่าเขาพูดภาษานั้นได้
แต่ คนไทยจะคิดว่าพูดได้นั้น
คือ ต้องพูดได้แตกฉาน ฟังแล้วเข้าใจ
ทุกอย่างคือความรู้สึกทั้งนั้น
ที่นี้ถ้าเรากลับมาคิดว่า
"ฟิสิกส์ กูก็คิดออก มันง่ายนิดเดียว"
อคติก็จะหายไป ทัศนคติก็ดีดเด้งพุ่งกระสูด
สมองก็จะเปิดรับได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้ว่าเจอโจทย์ยากคิดไม่ออก
ก็จะกล้า ยกมือถามอาจารย์ที่น่ารักว่า
"อาจารย์ครับ/ค่ะ โจทย์ข้อนี้ ผม/หนู รู้สึกว่ายังเข้าไม่ถึงประเด็ดรบกวนอธิบายอีกครั้ง"
ถ้านักเรียนอย่างนี้ อาจารย์ปกติ ย้ำว่าปกติ ทุกท่าน
ยินดีอธิบายด้วยรอยยิ้มไม่หุบเลยล่ะครับ

"ความรู้สึก" สำคัญต่อการเรียนมากๆ
ถ้าเรียนอย่างไร้ความรู้สึก
หรือเรียนอย่างเสียความรู้สึก
มันก็น่าสงสารเกินไปสำหรับผู้เรียน

ก่อนอื่นก็คิดได้จาก
ส่วนลึกของใจ ว่า "ฟิสิกส์ง่ายนิดเดียว"