วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

คณะที่รองรับถ้าเราเรียนสายวิทย์(คณะแพทยศาสตร์)


รายละเอียดของคณะ
แพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ตรวจวินัจฉัยโรค การบำบัดโรคการป้องกันโรค การเยี่ยวยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆเป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทักษะและความรู้อย่างสูงบุคคลที่จบการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุขและยังสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์มีการศึกษาเฉพาะทางอีกหลากหลายสาขาและแต่ละสาขาก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกมากมายหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตใช้ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี

สาขาที่เปิดสอน
กายวิภาคศาสตร์,กุมารเวชศาสตร์,จิตเวชศาสตร์,จุลชีววิทยา,จักษุวิทยา,ชีวเคมี,นิติเวชศาสตร์,ปรสิตวิทยา,พยาธิวิทยา
เภสัชวิทยา,รังสีวิทยา,วิสัญญีวิทยา,เวชศาสตร์,ชันสูตรเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมศัลยศาสตร์,สรีรวิทยา,สูติศาสตร์,นรีเวชวิทยา,โสต,นาสิก,ลาริงซ์วิทยา,ออร์โธปิดิกส์,อายุรศาสตร์,เวชศาสตร์ฟื้นฟู

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติตามระเบียบการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยหรือตามระเบียบของโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยหรือตามระเบียบของโครงการพิเศษที่คณะฯ ดำเนินการสอบคัดเลือกเองและต้องมีคุณสมบัติที่จะสามารถเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีทั้งนี้หากไม่รับราชการหรือไม่ทำงานตามที่กำหนดจะต้องชดใช้เงินแก่มหาวิทยาลัย รักและชอบที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์
แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
การศึกษาในคณะแพทยศาสตร์นั้นมีค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูงมากผู้เรียนส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนดังนั้นเมื่อเรียนจบจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามสัญญาของทางราชการเป็นเวลา 3 ปี เพื่อชดใช้ทุน (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันของเอกชน)หลังจากปฏิบัติงานเพื่อชดใช้ทุนแล้วแพทย์ที่มีความต้องการศึกษาต่อก็สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือศึกษาทางการแพทย์เฉพาะทางได้

สถาบันที่เปิดสอน
คณะแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดล,คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล,คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล,คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา,คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต,วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล,วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า,วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,สำนักวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น