....จงอย่าเชื่อว่า คนที่ไม่เก่งอะไรเลยจะมีอยู่ในโลก....
คนเราเกิดมาพร้อมกับลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน บางคนเก่งดนตรี บางคนเก่งกีฬา บางคนก็เก่งภาษา บางคนเก่งคอม บางคนเก่งคิด แต่บางคนก็บอกกับตัวเอง บอกกับคนอื่นๆว่า “ฉันไม่เห็นจะเก่งตรงไหนเลย” หรือ “กุไม่เห็นทำเชี่ยอะไรได้เลย”… คนที่คิดอย่างนี้ไม่ใช่เพราะไม่เก่ง หรือทำอะไรไม่ได้หรอกเพียงแค่เขายังไม่รู้จักตัวเองดีพอ หรือไม่ก็ ยังไม่ค้นพบศักยภาพของตัวเอง
แล้วรู้หรือไม่ว่า การที่คนเราไม่รู้ว่าถนัดอะไร ชอบอะไรเนี่ยมันก็ไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่หรอก จนกระทั่งวันนึงตอน ม.3 ที่เราจะต้องเลือกเส้นทางชีวิตครั้งแรก ว่าเราจะเรียนต่อในเส้นทางไหน มีทั้งวิทย์-คณิต ,ศิลป์-คำนวณ ,ศิลป์-ภาษา หรือไม่ก็ สายอาชีวศึกษา เชื่อว่าตอนนั้น เราเองก็ไม่ได้รู้จักตัวเองดีสักเท่าไหร่หรอก ก็เลยลองเอาเกรดคณิต วิทย์ สังคมมาเทียบดู ได้เกรดวิทย์ กะคณิตดีๆ ก็เข้าวิทย์-คณิต ซะ ถ้าวิทย์ไม่ดี ก็เข้าศิลป์-คำนวณ แต่ถ้าเกลียดคณิตจุงเลย ก็ไปศิลป์-ภาษาซะ หรือไม่ถ้าอยากเรียนวิชาชีพเฉพาะ ไม่เอาแล้ววิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สังคม ก็ไปเรียนสายอาชีวะ และอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ใช่น้อย ก็เรียนตามเพื่อน หรือไม่ก็เรียนตามที่บ้านอยากให้เรียน โดยที่ไม่รู้ว่า ตัวเราเองถนัดอะไร ชอบอะไร มีศักยภาพด้านไหน แต่ก็ต้องเลือกเรียน เพราะมันถึงเวลาต้องเลือกแล้ว จริงๆจะโทษใครไม่ได้หรอก นอกจากคนที่สั่งให้เราเลือก โดยที่ไม่ทำให้เราเจอสิ่งที่เราชอบซะก่อนนั่นแหละ (เห้ออออ การศึกษาไทย)
แล้วชีวิต ม.ปลายก็เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่เราเลือกสายด้วยสัญชาตญาณว่า “น่าจะใช่แล้วล่ะ” หรือไม่ก็ “เพื่อนมาเรียนเยอะ” หรือไม่ก็ “พ่อบอกว่าเรียนสายนี้ดีกว่า” ก็ตั้งหน้าตั้งตาเรียนๆกันต่อไป จริงๆแล้วช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตเกิดขึ้นตอน ม.ปลายนี่แหละ ที่เราต้องรู้ให้แน่ๆ ฟันธงได้แล้วว่า “ฉันถนัดอะไร” “ฉันชอบอะไร” “ฉันอยากเรียนอะไร” และสุดท้ายคือ “อนาคต ฉันจะทำอะไร” เพราะปลายทางของ ม.4 คือการเข้ามหาวิทยาลัย และจะเป็นทางเลือกที่ยากลำบากมาก และถ้าเลือกผิดแล้วบางคนก็ยอมเรียนๆไปให้จบๆทั้งที่ไม่ชอบ ส่วนบางคนก็ยอมเสียเวลาซิ่วออกมาเรียนในสิ่งที่ชอบจริงๆ ซึ่งมันก็ไม่ดีทั้งสองทางนั่นแหละ แล้วทำไมเราต้องรอให้ไปค้นพบตัวเองตอนที่สายไปด้วยล่ะจริงมั้ย สู้รู้ตัวตอนนี้ดีกว่า ว่าตกลงอยากเรียนอะไร ถนัดอะไร ชอบอะไรกันแน่ แล้วก็ตั้งใจไปให้ถึงสิ่งที่อยากเป็น จะได้ไม่เสียใจ เสียเวลาค่ะ
อ้างอิงจาก
http://www.tlcthai.com/education/knowledge-online/25592.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น